welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
รหัสนักศึกษา5411204422 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สื่อการสอนของเด็กปฐมวัย


หลักการเลือกสื่อการสอน
      ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
      นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น
  - ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
  - ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
  - ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
  - ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือ
  - ใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3. ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น
  - หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
  - ของจริงและของจำลอง ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
  - แผนภูมิ แผนภาพและแผนสถิติ ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล
  - สไลด์ ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้
4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา

สื่อการสอน
      สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน

ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
  - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
  - ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
  - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
  - ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
  - ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
  -นำอดีตมาศึกษาได้
  - นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

การออกแบบสื่อการสอน 

      การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design) 
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการนำไปใช้ทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

การใช้สื่อการสอน 
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม(accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

แนวทางการพัฒนาสื่อ ควรมีลักษณะเฉพาะดังนี้
1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน



ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์


เกมจับคู่ภาพรูปทรงที่เหมือนและมีขนาดเท่ากัน



ชุดเกมเลขเดินทาง



การวัดและการประเมินสื่อ
      หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้การประเมินการใช้สื่อการสอน
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่าง ๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

สรุป
      สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 (07/02/56)

ต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว"


     พอเวลา 10.30 น. อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนเข้าเรียนตามปกติ แล้วอาจารย์ก็เริ่มสอน .....
เรื่องที่1 เตือนสติเรื่อง การเขียน  >>  ถ้าลายมือไม่สวย ไม่ต้องให้อาจารย์ไปนิเทศน์เวลาฝึกสอน   เพราะเราเป็นครูปฐมวัย จำเป็นมากเรื่องลายมือ  เราต้องเขียนกำกับผลงานของเด็กทุกวันเพื่อส่งให้ผู้ปกครองของเด็กทราบพัฒนาการของบุตรหลานของท่าน
เรื่องที่2 อาจารย์นำภาพที่เป็นผังมโนทัศน์ในการนำเสนอข้อมูลคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มาให้นักศึกษาดู
เรื่องที่3 อาจารย์ให้ดูงานศิลปะของเด็กปฐมวัยที่บูรณาการคณิตศาสตร์  จากโรงเรียนเกษมพิทยา
เรื่องที่4 สอบสอน 
  • กลุ่มที่ 3  หน่วย ... ธรรมชาติ (ทะเลแสนงาม)  กลุ่มของดิฉันเอง
      วิธีการสอนของเพื่อ คือ
      1.  ใช้คำถาม "เด็กๆเคยไปเที่ยวทะเลไหมค่ะ?"   แล้วที่ทะเลมีสัตว์อะไรบ้าง?
      2.  ใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเรื่องทะเล  นิทานเรื่อง .... โลกใต้ท้องทะเล
      Comment จากอาจารย์ผู้สอน
          การที่จะสอนวันจันทร์ ไม่ควรใชนิทานมาเป็นการสอนวันแรก เพราะนิทานต้องเป็นเรื่องของประโยชน์  , เกี่ยวกับเรื่องราว ,  และสาระต่างๆ 

วิธีการสอนของดิฉัน คือ ดิฉันสอนวันจันทร์  ดิฉันจะถามเด็กๆก่อนว่า "เด็กๆเคยไปเที่ยวทะเลกันไหมค่ะ แล้วที่ทะเลมีสัตว์อะไรบ้าง" พอเด็กๆตอบ ดิฉันก็บอกเด็กๆว่า "วันนี้ครูมีนิทานมาเล่าให้ฟัง เรื่อง..โลกใต้ท้องทะล"  โดยการเล่าของดิฉัน ดิฉันก็จะให้เด็กๆนับจำนวนสัตว์ไปด้วย พอนิทานจบก็จะถามเด็กอีกว่าจำนวนสัตว์ในนิทานมีทั้งหมดกี่ตัว แล้วก็จะสอนเด็กนับเลข 1-10 แล้วสอนเด็กเขียนตัวเลขไทยและเลขฮินดูอารบิก 
  •  กลุ่มที่  4  หน่วย ...  ผม
       วิธีการสอนของเพื่อน   คือ
       วันจันทร์ :  ชนิดของผม
       - เอามือจับหัว  จับไหล่  จับเอว จับหัว  (2 รอบ)  เด็กๆลองสัมผัสดูสิค่ะว่าเด็กๆจับอะไรอยู่??
       Comment  จากอาจารย์ผู้สอน
       1.  จุดมุ่งหมายที่สอนเรื่องผมคือ????   >> อยากให้รู้เรื่องผมเพื่อการดูแลรักษา
       2.  ต้องแตก Map ชนิดของผม
       3.  การสอนในวัจันทร์ต้องเป็นเรื่องของลักษณะของผม
       4.  การเปรียบเทียบต้องเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต้องมีจุดเด่นของสิ่งนั้นๆ
       5.  การนำเสนอข้อมูล
            -  ลักษณะของผม >> Mapping
            -  ทำสถิติความชอบของเด็ก ผมสั้น,ผมยาว
            -  หน้าที่ของผม >> นิทาน , แตก Mapping ความคิด
            -  ประโยชน์และข้อควรระวัง >> การเปรียบเทียบ
            -  วิธีดูแลรักษา >> แตก Mapping แสดงขั้นตอนของการดูแลรักษา
            -  อาชีพที่เกิดจากผม  >>  แตก Mapping 

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 (07/02/56)



กิจกรรมการเรียนการสอน
             วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ 2 ออกไปสาธิต การสอนหน้าห้องเรียนในการสอนเพื่อนสาธิตการสอนในหน่วยของต้นไม้ อาจารย์ได้บอกว่าในการสอนหน่อยต่างๆเราสามารถล้อเลียนการสอนของสัปดาห์ที่แล้วได้โดยในการสอนต้องใช้คำถามเปิดประเด็น เพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าสู้เรื่องนั้นๆ 

ภาพเคลื่อนไหว

กลุ่มที่ 2   หน่วยต้นไม้
     -  วันจันทร์     สอนเรื่องประเภทของต้นไม้
     -  วันอังคาร    สอนเรื่องลักษณะของต้นไม้ 
                -  วันพุธ      สอนเรื่องส่วนประกอบของต้นไม้
      - วันพฤหัสบดี   สอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้
 - วันศุกร์    สอนเรื่องข้อควรระวัง


      

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 (31/01/56)


กิจกรรมการเรียนการสอน
        อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามหน่วยที่ตนเองได้รับผิดชอบ
เริ่มจากกลุ่มแรกคือหน่วยดิน ในการสอนทักษะเนื้อต่างๆยังไม่สมบรูณ์มากนัก อาจารย์ได้ช่วยแนะนำเทคนิควิธีการสอนว่าต้องทำอย่างไรเพื่อที่นักศึกษาจะนำไปใช้ได้ถูกต้องและถูกวิธี ในการสอนของแต่ละหน่วยต้องมีการบูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อที่กลุ่มต่อไปเวลาออกมานำเสนอจะได้ถูกต้อง

ภาพเคลื่อนไหว

กลุ่มที่1 หน่วยดิน
  - วันจันทร์         สอนประเภทของดิน
   - วันอังคาร         สอนลักษณะของดิน
          - วันพุธ             สอนในเนื้อดินมีอะไรบ้าง
    - วันพฤหัสบดี   สอนประโยชน์ของดิน
             - วันศุกร์           สอนข้อควรระวังเกี่ยวกับดิน


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 (24/01/56)


 กิจกรรมการเรียนการสอน
           สาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้แยกออกเป็น 5 หน่วยย่อยให้เป็น5วัน จันทร์-ศุกร์ หลังจากนั้นให้บูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปในการสอนของแต่ละหน่วย
           พัฒนาการทางสติปัญญา  - เด็กเล็กควรใช่ของจริงแทนภาพ
                                                     - เด็กโตขึ้นมาหน่อยจะใช่ภาพและครูเขียนขึ้นบนกระดาน
                                                     - เด็กโตจะใช้ตัวเลขกำกับจำนวน
           หลักในการเลือกหน่วยความรู้ให้กับเด็กสิ่งที่ควรคำนึง
                      1.เรื่องใกล้ตัวเด็ก
                      2.มีผลกับเด็ก
                      3.เรื่องในชีวิตประจำวันเด็ก
           ช่วงความสนใจของเด็ก 20-25 นาที
           จังหวะที่เหมาะแกการเล่านิทานให้เด็กฟังคือประโยชน์ของเรื่องนั้นๆ

   วันนี้อาจารย์มีธุระต้องทำ เลยไม่สามารถสอนเต็มเวลาได้  สำหรับเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาจารย์ก็ได้สอนถึงการเขียนแผนการสอนที่จะนำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์ถัดไป ว่าควรเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แล้วอาจารย์ก็กล่าวถึงประสบการณ์สำคัญของเด็กๆด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น
    และก่อนอาจารย์จะไปทำธุระ ก็ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปเขียนแผนการสอน ตามที่กล่าวไว้ แล้วให้นำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์หน้า



วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12 (17/01/56)

                                ภาพเคลื่อนไหว

กิจกรรมการเรียนการสอน

 วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงหลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยจะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่สำคัญกับเด็กดังนี้

          -  ในการจัดประสบการณ์ต้องให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ

          -  ในการจัดประสบการณ์ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เด็กอย่างมีอิสระ

          -  ในการจัดประสบการณ์ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน และที่สำคัญต้องมีสาระสำคัญและประสบการณ์สำคัญที่ปรากฎอยู่ในหลักสูตรมาจัดเป็นกิจกรรมบูรณาการในการเรียนการสอน เช่น หน่วยผลไม้ 

 หน่วยผลไม้  

         ผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าทั้งสองตะกร้าแต่ละตะกร้าจะมีผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทาน ในเรื่องนี้ก็สามารถที่จะบูรณาการในการสอนทางคณิตศาสตร์ได้ในเรื่องของการแยกแยะ การเปรียบเทียบผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทานว่ามีจำนวนเท่าไร จะทำให้รู้ค่า และก็มีการกำกับเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น


                                      ภาพเคลื่อนไหว

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้ของ สสวท. มีดังนี้

            1.จำนวนและการดำเนินการ

            2. การวัด

            3.เรขาคณิต

            4.พืชคณิต

            5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

            6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11 (10/01/56)

  กิจกรรมการเรียนการสอน

     -  การนำเสนอข้อมูลเป็น  Mind Mapping  เป็นเครื่องมือแบบบวิธีการ
     -  เนื้อหาสาระ   ในหลักสูตรใช้ชื่อว่า  สาระสำคัญ  = เชือกที่ผูกไว้กับตัวเด็ก เพื่อเชื่อมโยงไปถึงเด็ก
     พัฒนาการของเด็ก แรกเกิด -  6  ปี
       แรกเกิด - 2 ปี  :  ใช้ประสาทสัมผัส
       2-4  ปี  :  ใช้ภาษาได้    สื่อสารได้
       4-6  ปี  :   ใช้ภาษาที่เป็นประโยคมากขึ้น  มีการใช้เหตุผล
     -  ประชุมปรึกษา  เสนอความคิดเห็น "การจัดงานปีใหม่สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่  2"  
        ในวันพุธ  ที่  23  มกราคม  2556    เวลา   17:00 น.
     -  การแตกสาระจาก  Mind Mapping ออกมา  เกิดจากการคิดวิเคราะห์

     - มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
        สาระที่ 1     จำนวนและการดำเนินการ
        สาระที่ 2     การวัด
        สาระที่ 3     เรขาคณิต
        สาระที่ 4     พีชคณิต
        สาระที่ 5     การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        สาระที่ 6     ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ภาพเคลื่อนไหว

 งานที่อาจารย์สั่ง

        อาจารย์ได้สั่งงาน :  จาก Mind Mapping ที่ได้สร้างสาระการเรียนรู้ ให้แยกสาระการเรียนรู้          ออกเป็น 5  วัน  จันทร์ - ศุกร์   กำหนดส่ง   17  มกราคม  2556