welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
รหัสนักศึกษา5411204422 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7 (13/12/55)

 กิจกรรมการเรียนการสอน
                 อาจารย์อธิบายถึงความหมายของคู่มือคณิตศาสตร์ , วิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็ก , เครื่องมือในการเรียนรู้ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน(ภาษาและคณิตศาสตร์) , กรอบมาตรฐานของคณิตศาสตร์(จำนวนและการดำเนินการ,การวัด,ความสัมพันธ์ของแบบรูป(ทำไมเด็กต้องเข้าใจความสัมพัธ์ของแบบรูป),การวิเคระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น แล้วอาจารย์ก็ให้ทำงานเป็นกลุ่มๆละ 5 คน โดยมีหัวข้อว่า"ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์หน่วย" กลุ่มของดิฉันได้หน่วยธรรมชาติ(ทะเล) พอแต่กลุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มไปทำงานที่เมื่อกี้เพิ่มเติม



                    ภาพเคลื่อนไหว

   วันที่13/4         วันที่13/3

                             ภาพเคลื่อนไหว

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6 (06/12/55)

ภาพเคลื่อนไหว กิจกรรมการเรียนการสอน
            อาจารย์ได้อธิบายถึงวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการรับรู้สิ่งต่างๆ , การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายคณิตศสาตร์  พอหลังจากอาจารย์อธิบายเสร้จอาจารย์ก็ให้นักศึกทุกคนหยิบกล่องที่อาจารย์เมื่ออาทิตย์ที่ขึ้นมา แล้วอาจารย์ก็ถามว่าทำไมเราจะต้องนำกล่องมาสอนเด็ก แล้วนักศึกษาแต่ละคนก็ตอบว่า 1.เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว 2.มีรูปร่างและรูปทรงต่างๆ 3.ประหยัดและหาง่าย และอาจารย์ก็ถามต่อว่าวิธีการสอนโดยใช้กล่องนั้นมีวิธีอะไรบ้าง แล้วนักศึกษาแต่ละคนก็ตอบว่า 1.จับคู่กล่องที่มีขนาดเท่ากัน (ใช้การวัดโดยใช้นิ้วมือ ใช้ไม้บรรทัด ใช้เชือก) 2.แยกกล่องที่มีประเภทเดียวกัน (ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องใช้)  หลักจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10 คน ได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ให้หัวข้อมาว่า "ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำกล่องของสมาชิกในกลุ่มที่เตรียมมานำมาประดิษฐ์เป็นรูปอะไรก็ได้" และอาจารย์ก็ได้สั่งอีกว่า "โดยกลุ่มที่1กับกลุ่มที่4 ให้สมาชิกในกลุ่มวางกล่องตัวเองโดยไม่ต้องปรึกษาใครทั้งสิ้นโดยวางทีละคน และกลุ่มที่2กับกลุ่มที่3 ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันวางแผนหรือคิดว่ากลุ่มของตัวเองจะทำเป็นรูปอะไรและช่วยกันต่อ"
-กลุ่มที่1 เรือขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม
-กลุ่มที่2 หุ่นยนต์โลโบ้ (กลุ่มของดิฉัน)
-กลุ่มที่3 หนอนน้อยเจ้าสำราญ
-กลุ่มที่4 แท็คเตอร์ 2012
พอสุดท้ายอาจารย์ก็ถามนักศึกษาอีกว่ากล่องสามารถนำมาทำสื่ออะไรได้บ้าง (ขายของ =โดยวางตามมุมที่เตรียมไว้แล้วติดราคาที่กล่องโดยติดเป็นจุด เช่น1จุดก็1บาท )


4

ภาพเคลื่อนไหว


 เนื้อหาที่อาจารย์สอน 
ภาพเคลื่อนไหววิธีการให้เด็กเกิดการรับรู้
   1. เรียนรู้ผ่านการเล่น (มีอิสระในการตัดสินใจ) -> โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ลงมือกระะทำกับวัตถุ
   2. ครูจัดประสบการณ์ -> เด็กเล่นตามที่ครูวางแผนไว้

ภาพเคลื่อนไหวการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายคณิตศาสตร์
หน่วย  =   กล่อง  (ขนาด,รูปทรง)
1.   นับ
2.   กำกับตัวเลข
3.   จับคู่ = ขนาดเท่ากัน(ใช้เชือกวัด หรือนิ้ว) // วัดหาค่า
4.   เปรียบเทียบ
5.   เรียงลำดับ
6.   นำเสนอข้อมูล - > เปรียบเทียบโดยจับคู่ 1 : 1  // ให้เห็นแผ่นภาพ นำเสนอเป็นกราฟ

 Ex 
   

7.   จัดประเภท =  "กล่องที่ใส่ของใช้ และไม่ใส่ของใช้" หรือ "กล่องที่ใส่ของกินได้ และกินไม่ได้"                                       * ตั้งเกณฑ์ 1 เกณฑ์ *
8.   พื้นที่ = ดินน้ำมันใส่ในกล่อง โดยดินนำมันต้องมีขนาดเท่ากัน
ครูต้องเตรียมดินน้ำมันที่เท่ากัน -> แทนค่า -> กำกับตัวเลข -> เปรียบเทียบ -> นำเสนอ -> เรียงลำดับ
9.   ตามแบบ = อนุกรม เช่น.. ดาร์ลี่ ลูกพรุน ดาร์ลี่ ลูกพรุน
10. เศษส่วน =
                     *ทั้งหมด* กี่กล่อง -> นับจำนวน -> จัดประเภทที่ใส่ของกิน -> มี .... ของทั้งหมด
    คำว่า "ครึ่ง" = แบ่งกล่องครึ่งหนึงใช้ทำงานศิลปะ โดย .. จับ 1 : 1 หรือ จับ 2 : 2
11. อนุรักษ์ = เปลี่ยนตำแหน่ง แต้ต้องมีขนาดเท่ากัน


วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5 (29/11/55)



 กิจกรรมการเรียนการสอน
       อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน(คู่อาทิตย์ที่แล้ว) แล้วอาจารย์ก็ให้หัวข้อแต่ละคู่ คู่ของดิฉันได้หัวข้อที่2 ตัวเลข(Number) และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคู่ออกมาพูดในหัวข้อที่คู่ของตัวเองได้ โดยให้นักศึกษาแต่ละคู่ช่วยกันคิดว่าในหัวข้อที่คู่ของตัวเองได้ว่าจะมีวิธีการจะสอนเด็กอย่างไร ในขณะที่นักศึกษาแต่ละคู่ออกมาพูดอาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมไปด้วยและอาจารย์ก็ได้เน้นด้วยว่า "การที่เราจะสอนเด็ก เราควรจะเกณฑ์ไว้แค่ 1 เกณฑ์เท่านั้น" พอหลังจากนักศึกษาแต่ละคู่ออกมาพูดเสร็จอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนความรู้สึกในการเรียนคาบนี้
  
     กระต่ายงานที่อาจารย์สั่ง     กระต่าย

-ให้นักศึกษาทุกคนนำกล่องอะไรก็ได้มาคนละ 1 กล่อง (ขนาดใดก็ได้ รูปทรงใดก็ได้) 

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4 (22/11/55)

                              






 กิจกรรมการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกแต่ละคนวาดรูปตามที่ต้องการ แล้วอาจารย์ก็นำรูปที่วาดไปแปะบนกระดานแล้วอธิบายการแบ่งช่วงเวลา หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับคู่กันทำงานในหัวข้อตามด้านล่าง โดยให้นักศึกษาแต่ละคู่ช่วยกันคิดว่าแต่ละหัวข้อนักศึกษามีวิธีการจะสอนเด็กอย่างไร


                                               เนื้อหาที่อาจารย์สอน 
โครงกระดูกขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย (นิตยา  ประพฤติกิจ . 2541 :17:19) โครงกระดูก
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ (Shape) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and pace) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

                           





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3 (15/11/55)


ภาพเคลื่อนไหว  วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่2 (8/11/55)

  กิจกรรมการเรียนการสอน
          วันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม กฎเกณฑ์และวิธีการแบ่งกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า มีสิ่งของอะไรที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่อยู่รอบๆตัวเรา นักศึกษาทุกคนตอบว่า "มี โต๊ะ เก้าอี้ จำนวนคน หน้าต่าง กระเป๋า นาฬิกา" แล้วอาจารย์ก็ถามว่าสิ่งที่บอกมาเห็นเป็นแบบไหน นักศึกษาตอบว่า "เป็นรูปทรง และจำนวน ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เพราะว่าสามารถนับเป็นตัวเลขได้" ตัวเลข คือ สัญลักษณทางคณิตศาสตร์ 

  งานที่อาจารย์สั่ง  

  1. สำรวจรายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  2. ความหมายของคณิตศาสตร์
  3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
  4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์


               ภาพเคลื่อนไหว     กระต่ายยินดี   ภาพเคลื่อนไหว

บันทึกการเข้าเรียนครั้ง1 (1/11/55)

กิจกรรมการเรียนการสอน
      วันนี้อาจารย์บอกกฎการเข้าเรียนและอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของวิชาการจัดประสบการณ์๕ณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต่อจานั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษA4ให้คนละ 1 แผ่น แล้วอาจารย์ก็บอกโจทย์มา 2 ข้อ คือ
1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดของเราหมายความว่าอย่างไร
2.นักศึกษาคาดหวังว่าจะได้อะไรจากวิชานี้
และอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย





 เนื้อหาที่อาจารย์สอน

                                           ภาพเคลื่อนไหว พัฒนาการ (Development) ภาพเคลื่อนไหว
     หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นตอน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา 
     พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 ปี ซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าประสบการณ์ในช่วงวัยอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านที่เกิดขึ้นอย่างผสมผสานในช่วงเวลาเดียวกันและสามารถสังเกตเห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจน ซึ่งอัตราในการเปลี่ยนแปลงของเด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการเปลี่ยนแปลงช้า เร็วแตกต่างกัน แต่ส่วนมากแล้วพฤติกรรมก็มักจะเป็นไปตามแบบแผนและมีรูปแบบทิศทางเดียวกัน